วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทราจัด “โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว Green Industry ”

วันนี้ (22 พ.ค.57)  นายไพศาล  วิมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว Green  Industry  ณ โรงแรม      แกรนด์รอยัล พลาซ่า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โดยมีนาย ประกอบ วิวิธจินดา อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา  กล่าวรายงาน พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการฯ   มีผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วมสัมมนา

สำหรับการจัดสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ชุมชน และอุตสาหกรรม มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว 5 ระดับ รวมทั้งส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมนำเกณฑ์ของอุตสาหกรรมสีเขียวไปปฏิบัติและได้รับการรับรองการเลื่อนระดับอุตสาหกรรมสีเขียว การพัฒนาสถานประกอบการสู่โครงการอุตสาหกรรมสีเขียวและเพื่อจัดทำช่องทางและเครื่องมือในการสื่อสารการดำเนินโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่สถานประกอบการและผู้ที่สนใจทั่วไปโดยในปี 2557 มีเป้าหมายส่งเสริมสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวให้ได้จำนวน 152 ราย



ชาญณรงค์/ข่าว
ธนภัทร/ภาพ

สนง. เกษตร จ.ตราด จัดแข่งขันกวนทุเรียนลีลาประกอบเพลง สร้างสีสันให้กับงานวันระกำหวาน ฯ ท่ามกลางความสนใจของนักท่องเที่ยว

(22 พ.ค. 57) บริเวณบ้านท่าจอด อ. เขาสมิง ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานวันระกำหวาน ผลไม้ และของดีเมืองตราด ประจำปี 2557 สำนักงานเกษตรจังหวัด จัดกิจกรรมแข่งขันกวนทุเรียนลีลา ประกอบเพลง ซึ่งเป็น 1 ในกิจกรรมของงานวันระกำหวาน ผลไม้และของดีเมืองตราด ประจำปี 2557 โดยมีกลุ่มแม่บ้านและชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดตราดสนใจเข้าร่วมแข่งขัน 10 ทีม โดยมีประชาชนและนักท่องเที่ยวสนใจชมกรแข่งขันในบรรยากาศที่สนุกสนาน

นายนเรศ ฝีปากเพราะ เกษตรจังหวัดตราด กล่าวว่า การจัดแข่งขันครั้งนี้เป็นสร้างสีสันให้กับการจัดงานวันระกำหวาน ผลไม้ และของดีเมืองตราด ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ผลไม้คุณภาพของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว สำหรับผู้เข้าแข่งขันแบ่งเป็นทีมละ 6 คน เป็นผู้กวนทุเรียน 2 คน และเป็นหางเครื่อง 4 คน ใช้เวลาแข่งขันประมาณ 60 นาที ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันในแต่ละทีม ต่างแบ่งหน้าที่กันทำ ทั้งการเตรียมเนื้อทุเรียนมาก่อนให้สุกประมาณ 60 เปอร์เซนต์ โดยการให้คะแนนจะดู รสชาดของทุเรียนกวน ความสะอาด ความรวดเร็ว ลีลาสนุกสนาน และความสามัคคีภายในทีม ซึ่งระหว่างแข่งขันจะมีการเปิดเสียงเพลง เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการกวนทุเรียน สำหรับผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมแม่บ้านจากเกาะกูด อำเภอเกาะกูด สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศจากรสชาติ และลีลาในการแข่งขันกวนทุเรียนลีลาในครั้งนี้ไป

กรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นที่ตำบลแหลมกลัด อ.เมืองตราด หลังพบปัญหาค่อนข้างรุนแรง

(22 พ.ค. 57) นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ในพื้นที่ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด ครั้งที่ 1 ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยกลุ่มบริษัมที่ปรึกษาโครงการฯ จัดขึ้นที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด โดยมีประชาชนในพื้นที่ตำบลแหลมกลัดรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับโครงการเข้าร่วมเวทีครั้งนี้

นายสุมล เกียงแก้ว วิศวกรโยธา ชำนาญการพิเศษ กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า พื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 10 ตำบลแหลมกลัด เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันทรัพย์สินของประชาชนและทรัพย์สินของทางราชการที่ได้รับผลกระทบ กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัมที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท แมคโครคอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการดำเนินการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ความยาว 1,600 เมตร เพื่อให้ครอบคลุมแนวชายฝั่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 450 วัน โดยเริ่มปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 กำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 ดังนั้นเพื่อเป็นการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่จะเอื้อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินโครงการ และสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 จึงได้กำหนดจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ แนะนำโครงการฯ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ได้รับทราบรายละเอียด การดำเนินโครงการ และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจึงได้มีการจัดเวทีในครั้งนี้ขึ้น

ด้าน นายประดิษฐ์ คุ้มชนม์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัด กล่าวว่า พื้นที่ตำบลแหลมกลัดมีหาดทรายยาว 22 กิโลเมตร เกิดปัยหากัดเซาะชายฝั่งค่อนข้างรุนแรง โดยในบางปีพื้นที่ดินถูกกัดเซาะชายฝั่งนับ 100 ไร่ จึงเป็นสิ่งที่ดีที่ภาครัฐให้ควาสำคัญในการแก้ไขปัยหากัดเซาะชายฝั่งให้กับประชาชน

รองผู้ว่าฯตราด แนะ สภาวัฒนธรรมเป็นแกนนำในการสร้างรากฐานวัฒนธรรมให้เข้มแข็งเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(22 พ.ค. 57) นายณรงค์ ธีรจันทรงกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวต้อนรับพร้อมบรรยายาพิเศษ "วัฒนธรรมกับประชาคมอาเซียน” ให้กับคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี ที่นำโดยนางจิตร ภุมมะกาญจนะ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี ในโอกาสเดินทางเข้ามาศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดตราด ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่พึ่งพากันและกันจึงทำให้ระบบวัฒนธรรมนั้นสัมพันธ์อยู่กับความคิดหกด้านที่สำคัญ คือ ความคิดเรื่องการอยู่ร่วมกันของคนกับธรรมชาติ ความคิดเรื่องความคาดหวังอุดมสมบูรณ์ร่วมกัน ความร่วมมือเพื่ออยู่รอด การแบ่งปันอย่างยุติธรรม ความคิดเรื่องความเคารพผู้อาวุโส และกลไกลการสลายความตึงเครียดในประเพณี / พิธีกรรม จึงทำให้วัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในชีวิตจริง และการดำรงชีวิตของผู้คนที่ทำให้สังคมไทยอยู่รอดมาได้เนิ่นนาน แต่ความเปลี่ยแปลงของวัฒนธรรมไทยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการขยายตัวทางการท่องเที่ยว ที่มีการตัดแบ่งประเพณี / พิธีกรรมมาเป็นการแสดง เพื่อขายนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเพียงเปลือกนอกของประเพณี / พิธีกรรม เท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมใหม่ในสังคมที่เป็นวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เฉพาะชั้นมากขึ้น ซึ่งเป็นระบบความหมายที่จำกัดเฉพาะกลุ่ม / ชั้นของตนเท่านั้น อย่างไรก็ตามหลังจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกัน ในปีหน้าเป็นต้นไป คาดว่าหลังทศวรรต 2560 การเคลื่อนย้ายไหลเวียนของคนในอาเซียนจะมีมากขึ้น โดยเฉพาการย้านถิ่นฐานเข้ามไปทำงานตามประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มคนในสังคมแยกย่อยจะขยายตัวมากขึ้น หรือเกิดวัฒนธรรมใหม่จากการผสมมผสานทางวัฒนธรรม ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะเสาหลักด้านประชาสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน สภาวัฒนธรรมซึ่งนับเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนความคิด และเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด จึงควรที่จะเลือกส่งเสริมวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อสภาวการณ์นั้น ๆ รวมทั้งการสร้างรากฐานวัฒนธรรมให้เข้มแข็งเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง

รองผู้ว่าฯตราด แนะ สภาวัฒนธรรมเป็นแกนนำในการสร้างรากฐานวัฒนธรรมให้เข้มแข็งเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(22 พ.ค. 57) นายณรงค์ ธีรจันทรงกูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวต้อนรับพร้อมบรรยายาพิเศษ "วัฒนธรรมกับประชาคมอาเซียน” ให้กับคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี ที่นำโดยนางจิตร ภุมมะกาญจนะ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี ในโอกาสเดินทางเข้ามาศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดตราด ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่พึ่งพากันและกันจึงทำให้ระบบวัฒนธรรมนั้นสัมพันธ์อยู่กับความคิดหกด้านที่สำคัญ คือ ความคิดเรื่องการอยู่ร่วมกันของคนกับธรรมชาติ ความคิดเรื่องความคาดหวังอุดมสมบูรณ์ร่วมกัน ความร่วมมือเพื่ออยู่รอด การแบ่งปันอย่างยุติธรรม ความคิดเรื่องความเคารพผู้อาวุโส และกลไกลการสลายความตึงเครียดในประเพณี / พิธีกรรม จึงทำให้วัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในชีวิตจริง และการดำรงชีวิตของผู้คนที่ทำให้สังคมไทยอยู่รอดมาได้เนิ่นนาน แต่ความเปลี่ยแปลงของวัฒนธรรมไทยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการขยายตัวทางการท่องเที่ยว ที่มีการตัดแบ่งประเพณี / พิธีกรรมมาเป็นการแสดง เพื่อขายนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเพียงเปลือกนอกของประเพณี / พิธีกรรม เท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมใหม่ในสังคมที่เป็นวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม เฉพาะชั้นมากขึ้น ซึ่งเป็นระบบความหมายที่จำกัดเฉพาะกลุ่ม / ชั้นของตนเท่านั้น อย่างไรก็ตามหลังจากประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกัน ในปีหน้าเป็นต้นไป คาดว่าหลังทศวรรต 2560 การเคลื่อนย้ายไหลเวียนของคนในอาเซียนจะมีมากขึ้น โดยเฉพาการย้านถิ่นฐานเข้ามไปทำงานตามประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มคนในสังคมแยกย่อยจะขยายตัวมากขึ้น หรือเกิดวัฒนธรรมใหม่จากการผสมมผสานทางวัฒนธรรม ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะเสาหลักด้านประชาสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน สภาวัฒนธรรมซึ่งนับเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนความคิด และเป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด จึงควรที่จะเลือกส่งเสริมวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตในการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อสภาวการณ์นั้น ๆ รวมทั้งการสร้างรากฐานวัฒนธรรมให้เข้มแข็งเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง

กปช.จต.เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ตราด หารือแนวทางปฏิบัติหลังประกาศกฏอัยการศึก

ผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด เชิญผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ หารือข้อราชการสร้างความเข้าใจแนวทางปฏิบัติหลังประกาศกฎอัยการศึก

บ่ายวันนี้ ( 22 พ.ค.57 ) ที่ห้องประชุมกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรี – ตราด พลเรือโทสนธยา น้อยฉายา ผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี – ตราด ได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด หน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่จันทบุรีและตราดหารือ สร้างความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติหลังประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนตามปกติ อีกทั้งที่ผ่านมาจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดน ส่วนใหญ่มีการประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่อยู่แล้ว ยกเว้นเขตด้านในที่ถือเป็นการประกาศเพิ่มเติม  อย่างไรก็ตาม ผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดขอความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ สื่อมวลชน และประชาชนให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามประกาศของกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยและช่วยกันป้องกันและปราบปรามพร้อมทั้งสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายอาวุธเข้าไปสนับสนุนการก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวของแกนนำกลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆ ไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายกลุ่มมวลชนเข้าไปร่วมชุมนุมเพื่อร่วมกันสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองตามปกติดังเดิม 



จรัล/ภาพ/ข่าว ( 22 พ.ค. 57 )
ธเนศ เธียรนันทน์/ตรวจข่าว 

คณะกรรมการ TO BE NUMBER ONE ระดับประเทศ ลงพื้นที่ตรวจประเมินผล ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการตัดสินการประกวด TO BE NUMBER ONE ได้เดินทางมาที่จังหวัดชลบุรี เพื่อเยี่ยมชม และติดตามประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่จริง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกวดจังหวัด TO BE NUMBER ONE ระดับประเทศ  โดยมี นายวุฒิไกร ศักดิ์สุรกานต์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี  และคณะหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน  ณ ห้องประชุมพระพิพิธโภไคย ศาลากลางจังหวัดชลบุรี

จังหวัดชลบุรีได้ดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2546 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ เมื่อปี 2553 มีเป้าหมายที่จะก้าวสู่ระดับเพชร ในปี 2561 ด้านบริหารจัดการอย่าง บูรณาการด้วยรูปแบบของคณะกรรมการและคณะทำงานที่ชัดเจน กำหนดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ ครอบคลุมทั้งสถานศึกษา สถานประกอบการและชุมชน เชื่อมโยงทุกระดับ ได้แก่จังหวัด อำเภอ และเครือข่ายชุมชน ได้ประกาศให้ TO BE NUMBER ONE เป็นโครงการหลัก ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ต่อยอด นโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาชมรม TO BE NUMBER ONE สู่ความเข้มแข็งเยาวชน โดยมุ่งสร้างและพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ในปี 2556 ขยายเครือข่าย การจัดตั้งชมรม เชิงรุกและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานศึกษา และชุมชนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 79 แห่งในสถานประกอบการและสถานบันเทิง 109 แห่ง เพิ่มขึ้น 188 เครือข่าย จากนโยบายที่ชัดเจนต่อเนื่อง ส่งผลสู่ความสำเร็จทุกยุทธศาสตร์ เกิดผลงานเด่น และนวตกรรม มากมาย

ผลการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทำให้เยาวชน จังหวัดชลบุรี เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่ถูกต้อง มีความมั่นใจ เกิดความเข้มแข็งทางใจมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม จังหวัดชลบุรี ทุกภาคีเครือข่าย ขอน้อมนำพระปณิธานและแนวทางขององค์ประธานโครงการฯ ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และใช้โครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นเครื่องมือในการบริหารงานแบบบูรณาการ ติดตามงาน โดยใช้เวทีการประกวด ให้การสนับสนุน สร้างขวัญ และกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้มีผลงานก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด ให้เยาวชนชลบุรีห่างไกลยาเสพติด มีภูมิคุ้มกัน ทางจิต เห็นคุณค่าตนเอง เกิดความภาคภูมิใจเป็นหนึ่ง โดยไม่พึ่งยาเสพติด ภายใต้ยุทธศาสตร์โครงการ TO BE NUMBER ONE อย่างต่อเนื่อง



คมศักดิ์/ข่าว/ภาพ