วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพไทย สาขาตราด เชิญชวนประชาชนร่วม เดิน-วิ่ง วิสาขะ พุทธบูชา เฉลิมพระเกียรติ ในหลวง พระราชินี ณ อ่างเก็บน้ำวังปลาหมอ
(8 พ.ค. 57) นางสาวสนธยา จงพันธนิมิตร ประธานชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพไทย สาขาตราด เปิดเผยว่า ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพไทยสาขาตราด ได้รับมอบหมายจากสมาพันธ์ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพไทย ให้จัดงานเดิน-วิ่ง วิสาขะ พุทธบูชา ประจำปี 2557 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ขึ้น ในวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม นี้ ตั้งแต่เวลา 06.30 น. เป็นต้นไป ณ อ่างเก็บน้ำวังปลาหมอ หมู่ที่ 9 ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ทั้งนี้นอกจากถวายเป็นพุทธบูชาพุทธบูชาแล้ว ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 87 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2557 และในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2557 เป็นการส่งเสริมการออกกำลังกาย ใจ ให้ห่างไกลยาเสพติด มีสุขภาพที่แข็งแรง สำหรับการจัดกิจกรรมนี้ประกอบด้วยการจัด เดิน – วิ่ง เพื่อสุขภาพ ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ในเส้นทางถนนรอบอ่างเก็บน้ำวังปลาหมอ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมโดยเสียค่าลงทะเบียน 100 บาท จะได้รับเสื้อยืดคอกลม 1 ตัว พร้อมทั้งพระพุทธนวราชบพิตรเนื้อผง 1 องค์ หรือสามารถเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ผู้ที่เดิน – วิ่ง เข้าเส้นชัย 300 คน แรกจะได้รับพระพุทธนวราชบพิตรเนื้อผง 1 องค์และเหรียญรางวัลจำนวน 300 เหรียญ ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมนี้สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพไทย สาขาตราด หมายเลขโทรศัพท์ 081-074-1378 , 087- 140-6584
จ.ตราด กำหนดฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุและการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการอพยพประชาชนทางทะเล 14 – 16 พฤษภาคม นี้
(8 พ.ค. 57) นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวระหว่างการประชุมเตรียมการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุและการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการอพยพประชาชนทางทะเล ระดับจังหวัด ว่า จังหวัดตราด โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร่วมกับร่วมกับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 17 จันทบุรี หน่วยทหารในพื้นที่ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกำหนดจัดเตรียมการฝึกทดสอบแผนเผชิญเหตุและการฝึกซ้อมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยการอพยพประชาชนทางทะเล ระดับจังหวัด ขึ้น ในระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤษภาคม นี้ โดยจะมีการจำลองสถานการณ์การประทะกันระหว่างหน่วยทหารกับกองกำลังต่างชาติตามแนวชายแดนด้านอำเภอคลองใหญ่ ที่จะต้องมีการอพยพประชาชน รวมทั้งเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บสู่พื้นที่ปลอดภัยในอำเภอเมืองตราดโดยใช้การอพยพทางเรือ หลังจากที่มีการทำลายสะพานสำคัญต่าง ๆ ที่เป็นเส้นทางคมนาคมทางถนน นอกจากนี้ยังพบอุปสรรคจากระบบการสื่อสาร และระบบไฟฟ้า ประปาถูกตัดขาด จึงต้องมีการะดมกำลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขสถานการณ์ ทั้งการอพยพประชาชน การจัดตั้งศูนย์พักพิง การให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ การจัดตั้งระบบสื่อสารขึ้นทดแทนระบบการสื่อสารหลัก
รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีการฝึกซ้อมทั้งเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise) และการฝึกซ้อมแผนเต็มรูปแบบ (Full Scale Exercise) ทสำหรับการฝึกซ้อมดังกล่าวจะมีการฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ ที่บังคับการที่วัดคลองมะขาม อำเภอคลองใหญ่ ในวันที่ 14 – 15 พฤษภาคม และจะมีการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ ในวันที่ 16 พฤษภาคม โดยใช่ท่าเทียบเรือในการอพยพประชาชนที่ท่าเทียบเรือของภาคเอกชน ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือชลาลัย ท่าเทียบเรือกัลปังหา และท่าเทียบเรือ ส.กฤตรวัณ ทั้งนี้เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประชาชนสามารถอพยพสู่ที่ปลอดภัยได้ย่างเป็นขั้นเป็นตอนปราศจากความสูญเสีย โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการมีระบบบัญชาการเป็นหนึ่งเดียว ในกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบัญชีทรัพยากรต่างๆ ที่พร้อมนำมาใช้ในเชิงป้องกัน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพหากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง
รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีการฝึกซ้อมทั้งเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise) และการฝึกซ้อมแผนเต็มรูปแบบ (Full Scale Exercise) ทสำหรับการฝึกซ้อมดังกล่าวจะมีการฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ ที่บังคับการที่วัดคลองมะขาม อำเภอคลองใหญ่ ในวันที่ 14 – 15 พฤษภาคม และจะมีการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ ในวันที่ 16 พฤษภาคม โดยใช่ท่าเทียบเรือในการอพยพประชาชนที่ท่าเทียบเรือของภาคเอกชน ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือชลาลัย ท่าเทียบเรือกัลปังหา และท่าเทียบเรือ ส.กฤตรวัณ ทั้งนี้เพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประชาชนสามารถอพยพสู่ที่ปลอดภัยได้ย่างเป็นขั้นเป็นตอนปราศจากความสูญเสีย โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการมีระบบบัญชาการเป็นหนึ่งเดียว ในกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบัญชีทรัพยากรต่างๆ ที่พร้อมนำมาใช้ในเชิงป้องกัน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพหากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง
จ.ตราด มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าว (การปลูกข้าวพันธุ์ดี) จังหวัดตราด ปี 2557 ให้กับเกษตรกรนำไปปลูกทดแทนพันธุ์ข้าวเดิม
(8 พ.ค. 57) นางสาวเบญจวรรณ อ่านเปรื่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานในพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าว (การปลูกข้าวพันธุ์ดี) จังหวัดตราด ปี 2557 ให้กับตัวแทนเกษตรกรจากศูนย์ข้าวชุมชน กลุ่มเกษตกรผู้ปลูกข้าว จำนวน 9 กลุ่ม ของอำเภอเมืองตราด กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของอำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ และอำเภอแหลมงอบ อำเภอละ 1 กลุ่ม รวมจำนวน 400 ราย ปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าว 60,000 กิโลกรัม ที่วัดโคก ตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดตราด
นายนเรศ ฝีปากเพราะ เกษตรจังหวัดตราด กล่าวว่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าว (การปลูกข้าวพันธุ์ดี) จังหวัดตราด ปี 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีข้าวข้าวพันธุ์ดี มีความแข็งแรง ไม่มีข้าววัชพืชปลอมปน เพื่อให้เกษตรกรมีเมล็ดข้าวพันธุ์ดีไปใช้ทดแทนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บไว้ทำพันธุ์เกิน 3 ปี และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ข้าวมีคุณภาพขายได้ราคาตรงกับความต้องการของตลาด ทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดตราด มีการผลิตข้าวโดยการทำนาดำและนาหว่าน แต่ผลผลิตยังไม่สูงนัก ไม่มีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเป็นระยะเวลานานกว่า 3 ปี ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง อีกทั้งราคาผลผลิตข้าวก็ตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรได้ค่าตอบแทนจากการจำหน่ายข้าวไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ทำนาจะต้องมีความเข้าใจ เอาใจใส่และดูรักษาข้าวอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่า ในขณะเดียวกันต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อให้ได้กำไรจากการผลิตข้าว หากเกษตรกรสามารถปฎิบัติได้ตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วนั้น คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
นายนเรศ ฝีปากเพราะ เกษตรจังหวัดตราด กล่าวว่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าว (การปลูกข้าวพันธุ์ดี) จังหวัดตราด ปี 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีข้าวข้าวพันธุ์ดี มีความแข็งแรง ไม่มีข้าววัชพืชปลอมปน เพื่อให้เกษตรกรมีเมล็ดข้าวพันธุ์ดีไปใช้ทดแทนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บไว้ทำพันธุ์เกิน 3 ปี และเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ข้าวมีคุณภาพขายได้ราคาตรงกับความต้องการของตลาด ทางด้านผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า ปัจจุบันจังหวัดตราด มีการผลิตข้าวโดยการทำนาดำและนาหว่าน แต่ผลผลิตยังไม่สูงนัก ไม่มีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวเป็นระยะเวลานานกว่า 3 ปี ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง อีกทั้งราคาผลผลิตข้าวก็ตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรได้ค่าตอบแทนจากการจำหน่ายข้าวไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ทำนาจะต้องมีความเข้าใจ เอาใจใส่และดูรักษาข้าวอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่า ในขณะเดียวกันต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อให้ได้กำไรจากการผลิตข้าว หากเกษตรกรสามารถปฎิบัติได้ตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วนั้น คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
ป.ป.ส.ภาค 2 เผย ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก เกิดจาก 3 อัตลักษณ์ที่สำคัญ ระบุ การสร้างครัวเรือนสีขาวยังเป็นแนวทางในการป้องกันปัญหายาเสพติด
(9 พ.ค. 57) นายธงชัย ไชยพรหม ผู้อำนวยการ สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค 2 กล่าวระหว่างร่วมเวทีเสวนาเครือข่ายสื่อมวลชนภาคตะวันออกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งส่วนยุทธศาสตร์และอำนวยการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 2 (ป.ป.ส.ภาค 2 ) ร่วมกับสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 ร่วมกันจัดขึ้นที่ โรงแรมจอมเทียนการ์เด้นท์ รีสอร์ท จ.ชลบุรี ว่า สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออกในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากอัตลักษณ์ของภาคตะวันออก ที่มีผลต่อสถานการณ์ยาเสพติด ใน 3 ด้าน คือ 1. เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับชาติ โดยเฉพาะ พัทยา ตลาดโรงเกลือ เกาะช้าง ทำให้มีประชากรเดินเข้าออก มาในพื้นที่มากกว่า 10 ชาติ นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กลุ่มผู้ค้าจะปะปนมากับกลุ่มนักท่องเที่ยว 2. เป็นแหล่งการเกษตร โดยเฉพาะสวนผลไม้ ยางพารา และเป็นแหล่งอาชีพการประมง ที่มีกลุ่มแรงงานต่างด้าวนับเป็นกลุ่มเสี่ยงในการนำยาเสพติดเข้ามาใช้ และ 3.ภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ ที่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่รวมถึง 26 แห่ง จึงมีจำนวนผู้ใช้แรงงานจากทั่วประเทศเดินทางเข้ามาทำงาน จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการนำยาเสพติดมาใช้ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน อัตลักษณ์ทั้ง 3 จึงเป็นสิ่งดึงดูดกลุ่มผู้ค้านำยาเสพติดเข้ามาในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงาน หรือกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ใช้ยาเสพติด
ดังนั้นการทำให้สังคมไทยปลอดจากยาเสพติด ทาง ป.ป.ส.ภาค 2 จึงได้เร่งดำเนินการตามยุทธศาสต์ 2 ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่ประกอบด้วย การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยใช้พลังของภาคประชาชน ที่มุ่งสร้างให้ครัวเรือนทุกครัวเรือนเป็นครัวเรือนสีขาวมีความเข้มแข็ง ผ่านกระบวนการคัดแยก กลุ่มผู้ค้า ผู้เสพ ยาเสพติด ออกจากครัวเรือนที่ปลอดจากยาเสพติด พร้อมดำเนินการตามกระบวนการบำบัดฟื้นฟู หรือดำเนินการตามกฎหมาย โดยมุ่งเน้นให้ครัวเรือนแต่ละครัวเรือยคงสถานเป็นครัวเรือนสีขาว ส่วนขาที่สองในการดำเนินการ คือ กลไกล การดำเนินของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องจัดการกับกลุ่มผู้เสพ และผู้ค้ายาเสพติด
อย่างไรก็ตามจากฐานข้อมูลด้านผู้เสพยาเสพติด 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จำนวน ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ที่เข้าสู่กระบวนการบำบักรักษา เป็นผู้เสพรายใหม่ถึงร้อยละ 70 ส่วนผู้ที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วกลับมาเสพซ้ำมีประมาณร้อยละ 30 และจากการตรวจสอบผู้ที่เข้าสู่กระบวนการบำบัด คัดแยกตามอายุพบว่าผู้เสพหน้าใหม่มีอายุน้อยลง เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นกระบวนการป้องกันผู้เสพยาเสพติดหน้าใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน จึงนับเป็นอีกประเด็นที่สำคัญในการดำเนินงาน ซึ่งครอบครัวนับเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมที่สำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติดเข้าสู่กลุ่มเยาวชน ดังนั้นกระบวนการสร้างครัวเรือนสีขาวปลอดยาเสพติดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติดให้กับสังคมไทย
ดังนั้นการทำให้สังคมไทยปลอดจากยาเสพติด ทาง ป.ป.ส.ภาค 2 จึงได้เร่งดำเนินการตามยุทธศาสต์ 2 ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่ประกอบด้วย การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งโดยใช้พลังของภาคประชาชน ที่มุ่งสร้างให้ครัวเรือนทุกครัวเรือนเป็นครัวเรือนสีขาวมีความเข้มแข็ง ผ่านกระบวนการคัดแยก กลุ่มผู้ค้า ผู้เสพ ยาเสพติด ออกจากครัวเรือนที่ปลอดจากยาเสพติด พร้อมดำเนินการตามกระบวนการบำบัดฟื้นฟู หรือดำเนินการตามกฎหมาย โดยมุ่งเน้นให้ครัวเรือนแต่ละครัวเรือยคงสถานเป็นครัวเรือนสีขาว ส่วนขาที่สองในการดำเนินการ คือ กลไกล การดำเนินของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องจัดการกับกลุ่มผู้เสพ และผู้ค้ายาเสพติด
อย่างไรก็ตามจากฐานข้อมูลด้านผู้เสพยาเสพติด 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จำนวน ผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ที่เข้าสู่กระบวนการบำบักรักษา เป็นผู้เสพรายใหม่ถึงร้อยละ 70 ส่วนผู้ที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วกลับมาเสพซ้ำมีประมาณร้อยละ 30 และจากการตรวจสอบผู้ที่เข้าสู่กระบวนการบำบัด คัดแยกตามอายุพบว่าผู้เสพหน้าใหม่มีอายุน้อยลง เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นกระบวนการป้องกันผู้เสพยาเสพติดหน้าใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน จึงนับเป็นอีกประเด็นที่สำคัญในการดำเนินงาน ซึ่งครอบครัวนับเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมที่สำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติดเข้าสู่กลุ่มเยาวชน ดังนั้นกระบวนการสร้างครัวเรือนสีขาวปลอดยาเสพติดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติดให้กับสังคมไทย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)