การดำเนินการในครั้งนี้ จะทำการเก็บตัวอย่างเลือด นน้ำลาย ปัสสาวะและมูล เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อไวรัส ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยเจ้าหน้าที่จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าฉะเชิงเทรา ทำการจับค้างคาว โดยใช้ตาข่ายดัก แล้วนำไปตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น วัดขนาด ชั่งน้ำหนัก บันทึก เพศ คะแนนสภาพร่างกายและจำแนกชนิดพันธ์ แล้วดำเนินการเก็บตัวอย่าง ปล่อยสัตว์ไปเป็นอิสระ จากนั้นนำตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของหน่วยงานในความร่วมมือ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการโรคทางสมอง ศูนย์ความร่วมมือองค์การอานามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคไวรัสสู่คน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตรวจภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสนิปาห์(Nipah virus) และอีโบลา (Ebola virus) ในค้างคาวแม่ไก่ และเพื่อตรวจรหัสพันธุกรรมและจำแนกชนิดของไวรัสโคโรน่าด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่(PCR) ในค้างคาวแม่ไก่
การสำรวจโรคทางซีรั่มวิทยาในค้างคาว นับเป็นกระบวนการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่นำโดยค้างคาววิธีหนึ่ง ซึ่งอาจมรความสอดคล้องกับการติดเชื้อในสัตว์ชนิดอื่นและในคน การมีแผนป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ซ้ำของประเทศให้พร้อมรับและตอบสนองเหตุการณ์ระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยการเตรียมความพร้อมด้านขีอมูลพื้นฐานเพื่อจัดการกับโรคอุบัติใหม่ นับเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเฝ้าระวัง จักการความเสี่ยงและปกป้องความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย
คมศักดิ์ หล่อเถิน ข่าว/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น