วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กรมเจ้าท่า เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบ เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือคลองหินดำ เกาะกูด จ.ตราด รองรับการขยายตัวการท่องเที่ยว

(11 ก.พ. 57) นายทรงกลด พึ่งสอนรักษ์ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง อำเภอเกาะกูด เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือคลองหินดำ อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ซึ่งกรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการออกแบบสำรวจ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยมีนายบุญเรียง รัตนบัณฑิตกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาตราด ตลอดจนส่วนราชการ ระดับจังหวัด อำเภอ ผู้นำท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ที่ห้องประชุม ที่ว่าการอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด

นายกิตติรัศมิ์ เมธีกุล วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ กรมเจ้าท่า กล่าวว่า ท่าเทียบเรือคลองหินดำ ของอำเภอเกาะกูด ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยกรมโยธาธิการในสมัยนั้น ปัจจุบันตัวสะพานท่าเทียบเรืออยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมเสี่ยงอัตรายแก่ผู้ใช้งานท่าเทียบเรือแห่งนี้ ทางกรมเจ้าท่าจึงได้ดำเนินโครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือแห่งนี้ จึงได้ดำเนนการว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบเพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือคลองหินดำ อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ก่อนที่จะดำเนินการออกแบบก่อสร้างท่าเทียบเรือใหม่ทดแทนท่าเทียบเรือเดิม ที่มีสภาพโครงสร้างของท่าเทียบเรือที่ชำรุด ทั้งนี้เพื่อให้ท่าเทียบเรือคลองหินดำสามารถใช้งานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของเกาะกูด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัจจุบันเกาะกูดมีอัตราการขยายตัวของการท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการดำเนินโครงการนี้จะยังประโยชน์ต่อระดับพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตมการดำเนินโครงการนี้ในเบื้องต้นทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ออกแบบท่าเทียบเรือแห่งนี้ได้ออกแบบเป็น 3 รูปแบบ คือ แบบตัวที แบบก้างปลา และแบบตัวแอล ซึ่งหลังการจัดเวทีครั้งนี้ผู้เข้าร่วมเวทีต่างมีความเห็นในการเลือกรูปแบบตัวที ซึ่งเป็นรูปแบบเดิม แต่มีควากว้าง และความยาว ของตัวสะพานท่าเทียบเรือมากกว่าเดิม ซึ่งหลังจาการจัดเวทีครั้งนี้แล้วจะมีการจัดเวทีชี้แจงร่างผลการศึกษาความเหมาะสม และร่างรายละเอียดของโครงการก่อสร้าง รวมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในครั้งที่สองประมาณเดือนเมษายน 2557 จากนั้นจะได้มีการจัดเวทีรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ได้รับความเห็นของจากสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต่อไป ทั้งนี้หากผ่านกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนแล้วคาดว่าทางกรมเจ้าท่าจะสามารถตั้งของบประมาณดำเนินโครงการนี้ได้ในปีงบประมาณ 2560 ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น