(5 ก.พ. 57) ที่เรือนจำชั่วคราวเขาระกำ อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด นายนัทธี จิตสว่าง ที่ปรึกษาโครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา นำเจ้าหน้าที่จากสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 55 คน เดินทางศึกษาดูงานตามรอยพระดำริ โดยมีนางสาวอธิชา เขียวเซ็น ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดตราด นายไกรศักดิ์ บุญญานุสนธิ์ หัวหน้าเรือนจำชั่วคราวเขาระกำ และเจ้าหน้าที่ร่วมให้การต้อนรับ
นายนัทธี จิตสว่าง ที่ปรึกษาโครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กล่าวว่า สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันในโครงการพระดำริของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โดยมีภารกิจในการพัฒนางานยุติธรรมของประเทศไทย สำหรับการศึกษาดูงานที่เรือนจำชั่วคราวเขาระกำในครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันได้เรียนรู้ถึงการทรงงานของพระองค์ภา ซึ่งจากการศึกษาดูงานแล้ว เห็นว่าทั้งทัณฑสถาน เรือนจำจังหวัดตราดได้พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างดีเยี่ยมและเป็นต้นแบบให้กับเรือนจำแห่งอื่นๆ ได้อีกด้วย
ที่ปรึกษาโครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กล่าวอีกว่า ในส่วนของโครงการหนึ่งไร่หนึ่งแสนบาทของเรือนจำชั่วคราวเขาระกำนั้น ก็สามารถทำให้ผู้ต้องขังมีอาชีพ มีรายได้ หลังจากพ้นโทษไปแล้ว สามารถประกอบอาชีพได้อย่างสบาย
ในขณะที่นางสาวเมลานี โอลิเวอร์ ที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาและข้อกำหนดกรุงเทพฯ ซึ่งมาศึกษาดูงานด้วยนั้น กล่าวว่า ไม่ทราบมาก่อนว่าเรือนจำในประเทศไทยเป็นอย่างไร เมื่อได้มาเห็นเรือนจำชั่วคราวแห่งนี้ จึงรู้ถึงเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้ต้องขังด้วย
นายนัทธี จิตสว่าง ที่ปรึกษาโครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กล่าวว่า สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันในโครงการพระดำริของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โดยมีภารกิจในการพัฒนางานยุติธรรมของประเทศไทย สำหรับการศึกษาดูงานที่เรือนจำชั่วคราวเขาระกำในครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการให้เจ้าหน้าที่ของสถาบันได้เรียนรู้ถึงการทรงงานของพระองค์ภา ซึ่งจากการศึกษาดูงานแล้ว เห็นว่าทั้งทัณฑสถาน เรือนจำจังหวัดตราดได้พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างดีเยี่ยมและเป็นต้นแบบให้กับเรือนจำแห่งอื่นๆ ได้อีกด้วย
ที่ปรึกษาโครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กล่าวอีกว่า ในส่วนของโครงการหนึ่งไร่หนึ่งแสนบาทของเรือนจำชั่วคราวเขาระกำนั้น ก็สามารถทำให้ผู้ต้องขังมีอาชีพ มีรายได้ หลังจากพ้นโทษไปแล้ว สามารถประกอบอาชีพได้อย่างสบาย
ในขณะที่นางสาวเมลานี โอลิเวอร์ ที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาและข้อกำหนดกรุงเทพฯ ซึ่งมาศึกษาดูงานด้วยนั้น กล่าวว่า ไม่ทราบมาก่อนว่าเรือนจำในประเทศไทยเป็นอย่างไร เมื่อได้มาเห็นเรือนจำชั่วคราวแห่งนี้ จึงรู้ถึงเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้ต้องขังด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น