จังหวัดจันทบุรีประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง แล้ว 8 อำเภอ ราษฎรได้รับผลกระทบ 43,893 ครัวเรือน ปภ.และท้องถิ่น เร่งช่วยเหลือแก้ปัญหาแจกจ่ายน้ำอุปโภค – บริโภค
นายเกรียงเดช เข็มทองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า ในขณะนี้จังหวัดจันทบุรีได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ ภัยแล้งแล้ว รวม 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอมะขาม 6 ตำบล อำเภอโป่งน้ำร้อน 5 ตำบล อำเภอสอยดาว 5 ตำบล อำเภอเขาคิชฌกูฏ 5 ตำบล อำเภอท่าใหม่ 7 ตำบล อำเภอขลุง 11 ตำบล อำเภอนายายอาม 2 ตำบล และอำเภอเมือง 2 ตำบล รวม 43 ตำบล 389 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับผลกระทบประมาณ 43,893 ครัวเรือน 114,702 คน ยกเว้นอำเภอแก่งหางแมวและอำเภอแหลมสิงห์ที่ยังไม่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้จังหวัดได้ประสานกับท้องถิ่น อบจ. เทศบาลฯ และอบต.ในพื้นที่ที่ประสบภัยให้เร่งช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบรวมทั้งจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง แต่แนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประกอบกับ การเบิกเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉินภัยแล้งของจังหวัดจันทบุรีติดขัดด้วยระเบียบกระทรวงการคลัง ที่ไม่มีเงินหมุนเวียน เนื่องจากจังหวัดได้ใช้เงิน ทดรอง ราชการในคราวประสบปัญหาอุทกภัยไปหมดแล้ว จึงไม่เหลือเงินหมุนเวียนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ต้องอาศัยท้องถิ่นในการบรรเทาปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรไปก่อนอีกทั้งจังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนใหญ่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ซึ่งช่วงนี้ผลไม้เริ่มติดดอก ออกผล จำเป็นที่จะต้องมีน้ำเพื่อบำรุงรักษาผลผลิตให้ได้คุณภาพตามความต้องการ อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำในเขื่อนพลวง เขื่อนคิรีธาร และเขื่อนสันทราย ยังคงกักเก็บน้ำไว้ใช้เพียงพอจนถึงเดือนเมษายน
นายเกรียงเดช เข็มทองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า ในขณะนี้จังหวัดจันทบุรีได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ ภัยแล้งแล้ว รวม 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอมะขาม 6 ตำบล อำเภอโป่งน้ำร้อน 5 ตำบล อำเภอสอยดาว 5 ตำบล อำเภอเขาคิชฌกูฏ 5 ตำบล อำเภอท่าใหม่ 7 ตำบล อำเภอขลุง 11 ตำบล อำเภอนายายอาม 2 ตำบล และอำเภอเมือง 2 ตำบล รวม 43 ตำบล 389 หมู่บ้าน มีราษฎรได้รับผลกระทบประมาณ 43,893 ครัวเรือน 114,702 คน ยกเว้นอำเภอแก่งหางแมวและอำเภอแหลมสิงห์ที่ยังไม่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทั้งนี้จังหวัดได้ประสานกับท้องถิ่น อบจ. เทศบาลฯ และอบต.ในพื้นที่ที่ประสบภัยให้เร่งช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบรวมทั้งจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง แต่แนวโน้มจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประกอบกับ การเบิกเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉินภัยแล้งของจังหวัดจันทบุรีติดขัดด้วยระเบียบกระทรวงการคลัง ที่ไม่มีเงินหมุนเวียน เนื่องจากจังหวัดได้ใช้เงิน ทดรอง ราชการในคราวประสบปัญหาอุทกภัยไปหมดแล้ว จึงไม่เหลือเงินหมุนเวียนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ต้องอาศัยท้องถิ่นในการบรรเทาปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรไปก่อนอีกทั้งจังหวัดจันทบุรีเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนใหญ่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ซึ่งช่วงนี้ผลไม้เริ่มติดดอก ออกผล จำเป็นที่จะต้องมีน้ำเพื่อบำรุงรักษาผลผลิตให้ได้คุณภาพตามความต้องการ อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำในเขื่อนพลวง เขื่อนคิรีธาร และเขื่อนสันทราย ยังคงกักเก็บน้ำไว้ใช้เพียงพอจนถึงเดือนเมษายน
จรัล/ภาพ/ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น